วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 13
Wednesday 21st November 2018
     
     วันนี้อาจารย์ให้พวกเราส่งแผนเสริมประสบการณ์พร้อมให้คำแนะนำว่าเราควรปรับปรุงตรงไหนให้ดีขึ้น


หน่วยการเรียนรู้เรื่อง 📕: วัด
● ชนิด : 
   - วัดหลวง
   - วัดราษฎร์
● องค์ประกอบและลักษณะ : 
   - โบสถ์ ➨ ลักษณะ ➨ สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
                ➨ สี ➨ ขาว,แดง,เหลืองและฟ้า
   - หอระฆัง ➨ ลักษณะ ➨ สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
                     ➨ สี ➨ ขาว,แดง,เหลือง,ทองและเขียว
   - เจดีย์ ➨ ลักษณะ ➨ สามเหลี่ยม
               ➨ สี ➨ ขาวและทอง
   - กุฏิ ➨ ลักษณะ ➨ สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
            ➨ สี ➨ แดง,เหลืองและน้ำตาล
   - เมรุ ➨ ลักษณะ ➨ สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
            ➨ สี ➨ ขาว,แดง,เหลืองและทอง
● บุคคลที่เกี่ยวข้อง : 
   - พระภิกษุ
   - ภิกษุณี
   - สามเณร
   - มัคทายก
   - เด็กวัด
   - สัปเหร่อ

● สิ่งที่ควรปฏิบัติ / ข้อควรระวัง :
   - ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
   - สำรวม กาย วาจาและใจ
   - ไม่ส่งเสียงดังภายในวัด
● ประโยชน์ :
   - เป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางศาสนา 
     ➨ เป็นที่พึ่งทางใจ
     ➨ งานบวช
      งานศพ
     เทศกาลต่างๆ
______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ตั้งใจฟังที่อาจารย์ให้คำแนะนำค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆตั้งใจทำงานค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์อธิบายได้เข้าใจง่ายค่ะ




วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning Log 12
Wednesday 14th November 2018
     
     วันนี้อาจารย์ให้พวกเราทุกกลุ่มไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยที่ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ค่ะ
    

     โดยอาจารย์ให้พวกเราจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มคนละมุม ให้เด็กๆเข้าฐานครั้งละ 7 - 10 คน ฐานละ 15 นาที เวียนกลุ่มกันตามเข็มนาฬิกา เมื่อเด็กๆเข้าแต่ละกิจกรรม จะต้องให้ถามเด็กๆถึงอุปกรณ์ที่อยู่บนโต๊ะ พูดคุยกันว่าเคยเห็นที่ไหนบ้าง เอามาทำอะไรได้บ้าง เป็นการถามความรู้เดิมเพื่อที่จะเอามาเชื่อมกับความรู้ใหม่ หลังจากนั้นก็เริ่มอธิบายขั้นตอนของกิจกรรม อาจจะให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมด้วย เช่น ให้เด็กช่วยกันนับเลขขณะที่ต้องมีการนับจำนวนช้อนโต๊ะ ให้เด็กๆออกมาทำกิจกรรม เมื่อทำทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยเราก็สรุปให้เด็กๆฟังถึงกิจกรรมที่พึ่งจัดไปเมื่อสักครู่

กลุ่มที่ 1 : Shape of Bub-Bub-Bubble (กลุ่มของนักศึกษา)








ฐาน 2 : ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด ตู้ม! ตู้ม!




กลุ่มที่ 3 : ปั๊มขวดและลิปเทียน



กลุ่มที่ 4 : ลูกโป่งพองโต




กลุ่มที่ 5 : เรือดำน้ำ


 ______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : รู้สึกตื่นเต้นและเกร็งอยู่บ้างค่ะอาจจะเป็นเพราะมีเด็กหลายกลุ่ม การบริหารเวลาในการจัดกิจกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ คำพูดในการสอนอาจจะมีติดขัดอยู่บ้างค่ะ 
Member Assessment : เพื่อนทุกคนทำกิจกรรมออกมาได้ดีค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะในการจัดกิจกรรม คอให้คำแนะนำและคอยเดินดูพวกเราอยู่ตลอดค่ะ


Learning Log 11
Thursday 8th November 2018
     
     วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้พวกเราทำแผนผัง mind mapping กลุ่มละ 1 หน่วยเรื่องใดก็ได้ ให้แตกออกมาว่าหน่วยเรื่องที่เราเลือกนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง พร้อมกับทำแผนจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้วยค่ะ



หน่วยการเรียนรู้เรื่อง 📕: วัด
ชนิด
   - วัดหลวง
   - วัดราษฎร์
● องค์ประกอบ
   - พระพุทธรูป
   - พระ / เณร / แม่ชี
   - วิหาร / โบสถ์ / หอระฆัง / หอไตร / เมรุ / เจดีย์ / ศาลาการเปรียญ / กุฏิ
ลักษณะ
   - สี  น้ำเงิน
          ขาว
          ทอง
         แดง
   - รูปทรง  สี่เหลี่ยมผืนผ้า
                   สามเหลี่ยมหนาจั่ว
สิ่งที่ควรปฏิบัติ / ข้อควรระวัง :
   - ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
   - สำรวม กาย วาจาและใจ
   - ไม่ส่งเสียงดังภายในวัด
ประโยชน์ :
   - ที่พึ่งทางใจ
   - เป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางศาสนา  งานบวช
                                                  งานศพ
                                                  เทศกาล / วันสำคัญ

 ______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆตั้งใจทำงานค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์อธิบายได้เข้าใจง่ายค่ะ


Learning Log 10
Wednesday 7th November 2018
     
     วันนี้อาจารย์ให้พวกเราแต่ละกลุ่มนำวิดิโอที่ไปอัดการทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มมาให้รับชมกันทุกคนพร้อมให้คำแนะนำที่เราควรปรับปรุงของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 : Shape of Bub-Bub-Bubble





กลุ่มที่ 2 : ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด ตู้ม! ตู้ม!






กลุ่มที่ 3 : ลูกโป่งพองโต




กลุ่มที่ 4 : เรือดำน้ำ




กลุ่มที่ 5 : ปั๊มขวดและลิปเทียน


 ______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์ค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆแต่ละกลุ่มทำวิดิโอออกมาได้ดีค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning Log 9
Wednesday 24th October 2018
     
     วันนี้ตอนต้นคาบอาจารย์ให้พวกเราทวนความรู้เกี่ยวกับเรื่องทักษะทางวิทยาศาสตร์ค่ะ
     การที่เราจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กก็เพื่อให้เด็กได้รู้สาระสำคัญของสิ่งที่เด็กจะเรียนต่อไปในอนาคต วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กสิ่งที่สำคัญ คือ "ทักษะวิทยาศาสตร์" เราจะให้เด็กสนใจโดยการที่เราใช้ "คำถาม" ( คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์) เชื่อมโยงเรืื่องที่จะสอนไปสู่เรื่องในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเห็นว่าจริงๆแล้ววิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก
     หลังจากที่อาจารย์ทบทวนความรู้ให้พวกเราแล้ว อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้เสนอการทดลองให้นำวิดีโอที่อัดมาให้พวกเราดูแล้วอาจารย์ก็ยังให้ข้อเสนอแนะอีกด้วย


กิจกรรมที่ 1 : ปริมาณน้ำในแก้วเท่ากันหรือไม่ ?

  ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : ภาชนะ 3 ภาชนะที่มีขนาดไม่เท่ากัน , น้ำที่มีสีไม่เหมือนกัน 3 สี
ขั้นตอนการทดลอง : เทน้ำทั้ง 3 สีที่มีสีไม่เหมือนกันลงในภาชนะ 3 ภาชนะที่มีขนาดไม่เท่ากันลงไป ให้เด็กสังเกต
สรุปผลการทดลอง : น้ำที่เทไปในภาชนะทั้ง 3 ขนาด มีปริมาณน้ำที่เท่ากัน


กิจกรรมที่ 2 : ลูกข่างหลากสี (เหมาะกับกิจกรรมศิลปะ)



  ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : กระดาษแข็ง , สี , ลูกปิงปอง
ขั้นตอนการทดลอง : ตัดกระดาษให้ได้เป็นวงกลมอาจจะใช้แผ่นซีดีมาช่วยวาดแล้วตัดตรงกลางสำหรับวางปิงปองข้างล่างแล้วติดฝาขวดน้ำข้างบนเป็นที่จับสำหรับทำลูกข่าง ระบายสีหลายๆสีลงไปบนกระดาษหลังจากนั้นหมุนลูกข่างให้เด็กสังเกตว่ามีสีอะไรบ้างที่เด็กเห็นบนลูกข่าง
สรุปผลการทดลอง : ลูกข่างถึงจะระบายสีมากเท่าไหร่แต่เมื่อหมุนก็จะเห็นแค่เพียง 3 สี ได้แก่ แดง , ฟ้า และเหลือง หรือแม่สีนั่นเอง


กิจกรรมที่ 3 : เครื่องชั่งน้ำหนักที่ทำจากไม้แขวนเสื้อ


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : แก้วกระดาษใบเล็ก 2 ใบ , ไม้แขวนเสื้อ , ด้าย
ขั้นตอนการทดลอง : นำแก้วทั้ง 2 ใบติดทั้ง 2 ข้างของไม้แขวนเสื้อ หลังจากนั้นนำสิ่งของ 2 สิ่งใส่แก้วทั้ง 2 ข้างพร้อมให้เด็กสังเกต
สรุปผลการทดลอง : เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งของทั้งหมดบนโลกมีน้ำหนัก อาจจะมีน้ำหนักมากกว่า น้ำหนักน้อยกว่าหรือน้ำหนักเท่ากัน




กิจกรรมที่ 4 : เรือแรงลม (เรือสะเทินน้ำสะเทินบก)

  ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : ถ้วยกระดาษ , แกนกระดาษทิชชู่ , ดินน้ำมัน
ขั้นตอนการทดลอง : เอาแกนกระดาษทิชชู่วางตรงกลางของถ้วยกระดาษใช้ปากกาเขียนตามแล้วตัด สอดแกนกระดาษเข้าไป ใช้ดินน้ำมันอุดช่องให้มิดแล้วจากนั้นเป่าลมจากด้านบนเข้าไปในแกนกระดาษเรือจะลอยตัวขึ้นจากพื้นและเคลื่อนที่ได้
สรุปผลการทดลอง : การเป่าลมเข้าไปในแกนกระดาษของเรือสะเทินน้ำสะเทินบนจะช่วยเพิ่มความดันอากาศภายในตัวเรือ เนื่องจากอนุภาคของอากาศเร่งกระทำต่อพื้นซึ่งเรียกได้ว่า แรงกล ทำให้ตัวเรือยกขึ้นและลอยเหนือพื้น

______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ตั้งใจฟังเพื่อนๆทดลองวิทยาศาสตร์ค่ะ จะหมั่นทบทวนบทเรียนค่ะเพราะยังตอบคำถามได้ไม่ตรงบ้าง
Member Assessment : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนดีค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Research Science Provision for Early Childhood📂📑

Name of research : การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ของนักเรียนระดับอนุบาล1 / 3

Website : 👉🏻Click here👈🏻
Conclusion 
ชื่องานวิจัยการส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ของนักเรียนระดับอนุบาล1 / 3
ผู้วิจัย : นางสาวจุฑารัตน์ วรรณศรียพงษ์
ปีการศึกษา : 2556
ที่มาhttp://www.kasintorn.ac.th/kspnews/research/1.pdf 
สรุป : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผลแสวงหาความรู้สามารถแกปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนามี 7 ทักษะสำคัญ ซึ่งทักษะที่เด็กปฐมวัยควรมีเป็นอันดับแรก คือ ทักษะการสังเกต เนื่องจากเด็กปฐมวัย เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆตวัอยู่ตลอดเวลา จึงตอ้งใช้ทักษะการสังเกตในการแสวงหาคำตอบในสิ่งที่เขาอยากรู้หรือสนใจ การสังเกตจะต้องใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่งหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งต่างๆ เพื่อ
ค้นหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆที่เด็กต้องการรู้การมีทักษะการสังเกตที่ดีจะมีผลต่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆของเด็กปฐมวัย เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต



     

Video Science Provision for Early Childhood🎥📹



Name of video : การทดลองดอกอัญชันเปลี่ยนสีด้วยมะนาว
Website : 👉🏻Click here👈🏻
Conclusion : เราสามารถนำเรื่องใกล้ตัว สิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กมาทำการทดลองวิทยาศาสตร์ได้ เช่น การทดลองดอกอัญชันเปลี่ยนสีด้วยมะนาว ให้เด็กได้มีการสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อนำมะนาวใส่ของในน้ำดอกอัญชันให้เด็กได้มีส่วนร่วมการทดลองวิทยาศาสตร์จะดูเป็นเรื่องที่น่าสนใจเลย

การทดลองดอกอัญชันเปลี่ยนสีด้วยมะนาว
วัสดุ : ดอกอัญชัน , มะนาว , แก้ว 2 ใบ
ขั้นตอนการทดลอง
- นำแก้ว 2 ใบ เทน้ำดอกอัญชันลงไปในปริมาณที่เท่ากัน
- นำมะนาวเทลงไปในแก้วน้ำดอกอัญชันใบที่ 2
- สังเกตความเปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลองกรดของมะนาวจะทำปฏิกริยากับน้ำดอกอัญชัน ทำให้น้ำดอกอัญชันเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีม่วง