วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 6
Wednesday 3th October 2018
     
      วันนี้อาจารย์ให้พวกเรามานำเสนอการทดลองที่พวกเราเขียนสรุปเมื่อครั้งที่แล้วพร้อมอาจารย์ยังให้คำแนะนำแก่นักศึกษาในการที่เราจะไปจัดกิจกรรมจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์

- การวางวัสดุอุปกรณ์วางให้เห็นชัดเจน ควรถามเด็กว่ามีวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง เป็นการทวนความรู้เดิมของเด็กและให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการทดลอง เช่น วัสดุอุปกรณ์นี้เรียกว่าอะไร / เด็กๆเคยเห็นวัสดุอุปกรณ์แบบนี้ที่ไหนบ้าง / สิ่งที่เด็กๆเห็นอยู่สามารถทำอะไรได้บ้าง / เด็กๆจะมาทดลองอะไรได้บ้าง / คิดว่าเราเอามาทำการทดลองอะไรได้บ้าง ฯลฯ
- บอกข้อระวังในการทดลองที่อันตราย ⚠️
- การที่เราจะทดลองให้ดู เราควรขยับไปในมุมที่ไม่บังเด็ก
- ในการทดลองที่ให้เด็กทั้งห้องมีส่วนร่วมเราควรมีสัญญาณให้เด็กในการผลัดกันทำ เช่น ถ้าเด็กๆได้ยินเสียงปรบมือของคุณครูต้องส่งให้เพื่อนคนต่อไป
- ก่อนจะเริ่มการทดลอง ต้องตั้งสมมติฐานให้เด็กการความอยากเรียนรู้ เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..(การทดลองของแต่ละคน)
- ให้เด็กรู้จักสังเกต
- ขั้นสุดท้ายเราควรสรุปการทดลองให้เด็กเห็น 
- อาจจะให้เด็กๆวาดภาพการทดลองที่ได้ทำกันในวันนี้ เช่น การวาดภาพก่อนการทดลองและวาดภาพหลังการทดลองว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

กิจกรรมที่ 1 : ปั๊มขวดลิปเทียน 

 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : น้ำร้อน , น้ำที่มีสี , จาน , เทียนไข
การทดลองที่ 1 : เทน้ำร้อนไปในขวดและเขย่า หลังจากนั้นเทน้ำร้อนออก อากาศที่ร้อนจะยังอยู่ในขวด หลังจากนั้น นำขวดไปวางคว่ำในจานที่ใส่น้ำไว้ อาจจะเป็นน้ำสีก็ได้เพื่อให้เห็นชัด หลังจากนั้นน้ำที่อยู่ในจานจะค่อยๆขึ้นมาอยู่ในขวดน้ำที่คว่ำ เพราะน้ำจะเข้าไปแทนที่ในขวดที่มีอุณหภูมิสูง
การทดลองที่ 2 : เทน้ำลงในจาน แล้วนำเทียนมาจุดไว้ตรงกลางจาน หลังจากนั้นนำแก้วมาวางครอบไว้ที่จุดเทียนไว้ หลังจากนั้นจะทำให้เทียนที่โดนครอบไว้ดับในที่สุด


กิจกรรมที่ 2 : เมล็ดพืชเต้นระบำ (การทดลองของนักศึกษาเอง)



 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : เมล็ดถั่วเขียน , แก้ว 2 ใบ , น้ำโซดา , น้ำเปล่า
ขั้นตอนการทดลอง : ใส่เมล็ดถั่วเขียวลงไปในแก้วใบที่ 1 และแก้วใบที่ 2 ในปริมาณที่เท่าๆกัน (ควรมีภาชนะมาตักใส่ด้วย) หลังจากนั้นเทน้ำเปล่าและน้ำโซดาลงไปในแก้วทั้ง 2 ใบ 
สรุปผลการทดลอง : แก้วที่เทน้ำเปล่าลงไปจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนแก้วที่เทน้ำโซดาลงไปภายในแก้วจะเกิดการที่เมล็ดถั่วเต้นไปเต้นมาเพราะว่า น้ำโซดามีการอัดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์มีน้ำหนักที่เบากว่าน้ำ ก๊าซนี้จึงไปอยู่ใต้เมล็ดถั่วและลอยขึ้นข้างบนทำให้มีเมล็ดถั่วลอยขึ้นตามไปด้วย


กิจกรรมที่ 3 : แรงตึงผิวของน้ำ



 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : น้ำเปล่า , เหรียญ , สลิ้ง (หลอดดูดยา) , ฝาขวดน้ำ
การทดลองที่ 1 : ให้เทน้ำเปล่าลงไปในแก้วให้เต็มหลังจากนั้นใช้สลิ้งดูดน้ำขึ้นมาใส่จนน้ำนูนขึันมา
การทดลองที่ 2 : ใช้สลิ้งดูดน้ำแล้วนำไปหยอดใส่เหรียญ
การทดลองที่ 3 : ใช้สลิ้งดูดน้ำแล้วนำไปหยอดใส่ฝาขวดน้ำ
สรุปผลการทดลอง : น้ำนั้นมีแรงตึงผิวอยู่ในการทดลองสังเกตได้ว่าน้ำจะไม่ล้นออกมา เหมือนกับการที่แมลงบางชนิดนั้นเดินบนน้ำได้


กิจกรรมที่ 4 : แสง


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : ของ 2 สิ่งที่มีขนาดเท่ากัน , ไฟฉาย
ขั้นตอนการทดลอง : นำของชนิดที่ 1 มาวางและนำไฟฉายส่อง หลังจากนั้นนำของ 2 สิ่งที่มีขนาดเท่ากันมาวางไว้ด้วยกันแต่วางห่างกันเล็กน้อยและนำไฟฉายส่อง
สรุปผลการทดลอง : การที่นำไฟฉายส่องสิ่งของจะทำให้เกิดเงา และหากนำของ 2 สิ่งนำไฟฉายมาส่องแต่การที่วางไฟฉายไว้คนละทิศทางก็อาจจะทำให้ของ 2 สิ่งที่มีขนาดเท่าแต่เงาที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน


กิจกรรมที่ 5 : กระจกเงา


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : กระจกเงา , กระดาษ
ขั้นตอนการทดลอง : วาดรูปหัวใจใส่ในกระดาษที่เตรียมไว้แต่วาดแค่เพียงครึ่งหัวใจลงไปแล้วจึงนำไปส่องกับกระจก
สรุปผลการทดลอง : เกิดการสะท้อนของกระจก


กิจกรรมที่ 6 : ไหลแรงหรือไหลอ่อน


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : ขวดน้ำที่ไม่มีน้ำ , น้ำเปล่า , ถาดรอง , ที่เจาะรู , สก็อตเทป
ขั้นตอนการทดลอง : นำขวดน้ำมาวางไว้ตรงกลางถาด แล้วเจาะรู 2 รู ข้างล่างและข้างบนแล้วนำสก็อตเทปปิดรูทั้ง 2 รูไว้ หลังจากนั้นเทน้ำให้เต็มขวด แล้วเปิดสก็อตเทปทั้ง 2 ออกพร้อมกัน สังเกตว่ารูไหนที่น้ำไหลแรงกว่ากัน
สรุปผลการทดลอง : น้ำจะไหลออกทางรูข้างล่างแรงกว่ารูที่อยู่ข้างบนเพราะว่าเมื่อเปิดสก็อตเทปออกจะทำให้อากาศเข้าไปในขวดจึงทำให้รูข้างล่างน้ำไหลแรงกว่า


กิจกรรมที่ 7 : ดินนำมันสู่ยอดปราสาท


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : ดินน้ำมัน , เส้นด้าย
ขั้นตอนการทดลอง : ปั้นดินน้ำมันให้ได้ทรงสี่เหลี่ยมหรือลูกเต๋า นำเส้นด้ายมาตัดระหว่างกลางจะทำให้เกิดรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าในดินมัน 2 ก้อนที่เราตัดแล้ว หลังจากนั้นปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้แล้วนำเส้นด้านมาตัดระหว่างกลางจะทำให้ได้รูปทรงอะไรให้เด็กสังเกต
ผลการทดลอง : ถ้าเรานำเส้นด้ายมาตัดที่ดินน้ำมันของเรานั้นก็จะทำให้เราได้รูปทรงใหม่ และยังได้ทักษะในการปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปทรงอีกด้วย


กิจกรรมที่ 8 : ทำนองตัวเลข

 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : กระดาษ , สี
ขั้นตอนการทดลอง : ตัดกระดาษให้เป็นสี่หลี่ยมจัตุรัสมีขนาดเท่ากันทุกด้าน พลิกด้านที่เรียบขึ้น พับทุกมุมให้เป็นสามเหลี่ยม ระบายสีให้ต่างกันใน 2 ด้าน
สรุปผลการทดลอง : ได้เรียนรู้เรื่องสีและตัวเลข


กิจกรรมที่ 9 : พับและตัด


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : สีน้ำ , เส้นด้าย , กระดาษ
ขั้นตอนการทดลอง : พับกระดาษให้เท่ากัน เหยาะสีลงไปในกระดาษให้เป็นจุดๆ แล้วพับ เปิดออกว่าได้รูปอะไร หลังจากนั้น เหยาะสีลงตรงกลางกระดาษที่พับแล้วนำเส้นด้ายไปวางไว้ตรงกลาง แล้วพับแล้วดึงเส้นด้ายออกเป็นมุมเฉียงออก 
สรุปผลการทดลอง : เกิดรูปร่างจากการที่ดึงเส้นด้ายออกทำให้สีกระจายไปทั่วกระดาษ


กิจกรรมที่ 10 : แสง สี และการมองเห็น


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : กระดาษ , กระดาษสีใส 
ขั้นตอนการทดลอง : ระบายสี 3 สีลงในกระดาษ หลังจากนั้นนำกระดาษใสแต่ละสีมาทาบ เริ่มจากสีแรกจนสีสุดท้าย
ผลการทดลอง : สีบนกระดาษที่มีสีเดียวกับกระดาษสีใสเมื่อทาบแล้วจะทำให้มองไม่เห็นสีนั้น

______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร มีติดขับเล็กน้อยอยู่บ้างในการนำเสนอการทดลอง ตั้งใจฟังเพื่อนๆทุกคนค่ะ
Member Assessment : ทุกคนนำเสนอการทดลองอาจจะมีติดขัดกันอยู่บ้างแต่ทำได้ดีค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น