วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 5
Wednesday 19th September 2018
     
      วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง blogger ของพวกเราว่าควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง หลังจากนั้น อาจารย์ได้แจกใบความรู้การทดลองวิทยาศาสตร์ "บ้านวิทยาศาสตร์น้อย" ให้พวกเราคนละการทดลองไม่ซ้ำกันและให้พวกเราเขียนสรุปออกมา



การทดลองเรื่อง "เมล็ดพืชเต้นระบำ" (เรื่องก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์)

     เรานำเรื่องพบเห็นในชีวิตประจำวันง่ายๆรอบตัวมาสอนวิทยาศาสตร์ "เมล็ดพืชเต้นระบำ" เมื่อเรานำผงมะนาวโซดามาละลายน้ำจะทำให้เกิดฟองอากาศ ประกอบด้วยก๊าซไดออกไซด์ ( CO2 ) เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความเบากว่าน้ำจึงลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ซึ่งในระหว่างที่ฟองลอยขึ้นสู่ผิวน้ำนั้น ฟองอากาศอาจนำวัตถุชิ้นเล็กๆในน้ำติดขึ้นมาด้วย

วัสดุอุปกรณ์
   - ขวดแยมเปล่าพร้อมฝาปิด 2 ใบ
   - บวดใสปากแคบ
   - หลอดดูด
   - ของชิ้นเล็กๆ เช่น ยางรัดผม
   - น้ำเปล่า
   - โซดา 
   - เมล็ดพืช เช่น ถั่วเขียว งา
   - แว่นขยาย

สำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติม
   - ช้อนชา
   - น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลก้อน
   - ลูกโป่งและแก้วน้ำ

การทดลอง
   - เทน้ำลงขวดแยมใบแรกประมาณ 2/3 แล้วโรยเมล็ดพืชลงไปปิดฝาทันที
   - เทน้ำลงขวดแยมใบแรกประมาณ 2/3 แล้วโรยเมล็ดพืชลงไปปิดฝาทันที
   - ตั้งขวดทั้ง 2 ไว้ใกล้กันเพื่อเปรียบเทียบ สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลง
   - สังเกตและจับเวลาว่าเมล็ดพืชเต้นขึ้นลงในน้ำโซดาได้นานเท่าไหร่และถ้าเปิดฝาออกเมล็ดพืชจะหยุดเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือไม่
   *** น้ำโซดาเกิดจากการอัด CO2 เข้าไปในน้ำ CO2 เบากว่าน้ำ จึงลอยขึ้นมาเหนือน้ำได้

สรุปการทดลอง
     น้ำโซดาีการอัด CO2 เข้าไป ดังน้ำเมื่อเปิดฝาขวด ก๊าซจะพุ่งออกจากขวดทันทีเมื่อใส่วัสดุต่างๆ เช่น เมล็ดพืชลงปในชวด วัตถุจะเคลื่อนที่ขึ้นลงทันที เมล็ดพืชจะลอยขึ้นไปตามฟองก๊าซเมื่อถึงข้างบนจะตกลงมา พอตกลงมาก็จะลอยไปตามก๊าซวนอยู่แบบนั้นจนกว่า CO2 จะหมด


     หลังจากให้เขียนสรุปการทดลองเสร็จอาจารย์ให้พวกเราคิดของเล่นที่สามารถสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ได้ โดยต้องมี "ฝาขวดน้ำ" อยู่ในของเล่นชิ้นนี้ด้วย



• วัสดุอุปกรณ์
   - ฝาขวดน้ำ
   - หลอดน้ำ
   - ลูกโป่ง

• ขั้นตอนการทำ
   - นำฝาขวดน้ำมาเจาะรูตรงกึ่งกลาง
   - ต่อมานำหลอดมาวางระหว่างกึ่งกลางแล้วนำเข็มมุดมาปัก 
   - นำลูกโป่งไปถูกับเสื้อทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์แล้วจึงนำมาวางใกล้ๆหลอด จะทำให้หลอดวิ่งออกไปจากลูกโป่ง


______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ตั้งใจคิดงานประดิษฐ์ค่ะ แต่จะนำคำที่อาจารย์แนะนำไปปรับปรุงเพื่อให้ได้สิ่งประดิษฐ์ที่ดีค่ะ
Member Assessment : ทุกคนตั้งใจทำงานค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น