วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Research Science Provision for Early Childhood📂📑

Name of research : การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ของนักเรียนระดับอนุบาล1 / 3

Website : 👉🏻Click here👈🏻
Conclusion 
ชื่องานวิจัยการส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ของนักเรียนระดับอนุบาล1 / 3
ผู้วิจัย : นางสาวจุฑารัตน์ วรรณศรียพงษ์
ปีการศึกษา : 2556
ที่มาhttp://www.kasintorn.ac.th/kspnews/research/1.pdf 
สรุป : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผลแสวงหาความรู้สามารถแกปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนามี 7 ทักษะสำคัญ ซึ่งทักษะที่เด็กปฐมวัยควรมีเป็นอันดับแรก คือ ทักษะการสังเกต เนื่องจากเด็กปฐมวัย เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆตวัอยู่ตลอดเวลา จึงตอ้งใช้ทักษะการสังเกตในการแสวงหาคำตอบในสิ่งที่เขาอยากรู้หรือสนใจ การสังเกตจะต้องใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่งหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งต่างๆ เพื่อ
ค้นหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆที่เด็กต้องการรู้การมีทักษะการสังเกตที่ดีจะมีผลต่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆของเด็กปฐมวัย เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต



     

Video Science Provision for Early Childhood🎥📹



Name of video : การทดลองดอกอัญชันเปลี่ยนสีด้วยมะนาว
Website : 👉🏻Click here👈🏻
Conclusion : เราสามารถนำเรื่องใกล้ตัว สิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กมาทำการทดลองวิทยาศาสตร์ได้ เช่น การทดลองดอกอัญชันเปลี่ยนสีด้วยมะนาว ให้เด็กได้มีการสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อนำมะนาวใส่ของในน้ำดอกอัญชันให้เด็กได้มีส่วนร่วมการทดลองวิทยาศาสตร์จะดูเป็นเรื่องที่น่าสนใจเลย

การทดลองดอกอัญชันเปลี่ยนสีด้วยมะนาว
วัสดุ : ดอกอัญชัน , มะนาว , แก้ว 2 ใบ
ขั้นตอนการทดลอง
- นำแก้ว 2 ใบ เทน้ำดอกอัญชันลงไปในปริมาณที่เท่ากัน
- นำมะนาวเทลงไปในแก้วน้ำดอกอัญชันใบที่ 2
- สังเกตความเปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลองกรดของมะนาวจะทำปฏิกริยากับน้ำดอกอัญชัน ทำให้น้ำดอกอัญชันเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีม่วง




วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Article Science Provision for Early Childhood📄📚

Name of article : ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
Website👉🏻Click here👈🏻
Conclusion : วิชาวิทยาศาสตร์ฟังดูแล้วอาจเป็นวิชาที่ทำให้เด็หลายคนรู้สึกเบื่อหน่ายแต่จะมีประโยชน์อย่างมากในอนาคต จึงขอเสนอวิธีที่จะทำให้เด็กรู้สึกสนใจ ได้แก่
1. อ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมีหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย ที่ดูไม่น่าเบื่อ มีภาพประกอบ แต่ละเล่มจะสอดแทรกวิทยาศาสตร์ไว้
2. ทำการทดลองอย่างง่ายๆ ลองหาหนังสือการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมาเป็นแนวทางได้ และยังหาเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
3. พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ในประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ให้เด็กเข้าร่วมทำกิจกรรม
    

Learning Log 8
Wednesday 17th October 2018
     
     วันนี้อาจารย์ให้พวกเราทุกคนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้พวกเรารวมกลุ่มกันแล้วปรึกษากันว่าจะนำกิจกรรมของใครที่น่าสนใจมากที่สุดมาจัดกิจกรรมค่ะ 

กิจกรรมที่ 1 : ลูกโป่งพองโต
กิจกรรมที่ 2 : ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด ตู้ม ! ตู้ม!
กิจกรรมที่ 3 : ปั๊มขวดและลิปเทียน
กิจกรรมที่ 4 : Shape of Bub-Bub-Bubble
กิจกรรมที่ 5 : เรือดำน้ำ

     พอช่วยกันปรึกษาเลือกิจกรรมกันเสร็จแล้ว อาจารย์ให้พวกเราเขียนแผนการจัดกิจกรรมแล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นค่ะ ในการจัดกิจกรรมจะต้องประกอบไปด้วย 
1. ชื่อกิจกรรม
2. วัตถุประสงค์
3. วัสดุอุปกรณ์
4. ขั้นตอนการทดลองวิทยาศาสตร์
5. ผลที่จะได้รับ







     หลังจากที่นำเสนออาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่าเราควรแก้ตรงไหนบ้างที่ยังผิดพลาดอยู่ และท้ายคาบอาจารย์ให้พวกเราในห้องทุกคนช่วยกันเขียนแผนโครงการ จะต้องประกอบไปด้วย
1. ชื่อโครงการ (เขียนชื่อโครงการให้ดูน่าสนใจ)
2. หลักการและเหตุผล (การทดลองมีความสำคัญอย่างไร)
3. วันที่/สถานที่/งบประมาณ
4. วัสดุอุปกรณ์
5. ตารางการดำเนินกิจกรรม
6. วิธีการประเมิน (ดูอย่างไรว่าเด็กมีทักษะ)
7. หน้าของแต่ละคน


______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ตั้งใจฟังที่เพื่อนออกมานำเสนอกิจกรรมค่ะ 
Member Assessment : เพื่อนบางคนก็ตั้งใจช่วยกันทำโครงการค่ะ แต่บางคนก็ไม่ค่อยได้ช่วยอะไร อยากให้เพื่อนๆช่วยกันเพื่อส่วนรวมบ้างค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ




วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 7
Wednesday 10th October 2018
     
      วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอการทดลองออกมานำเสนอให้เพื่อนในห้องได้เรียนรู้ค่ะ

กิจกรรมที่ 1 : ฟองสบู่

 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : น้ำยาล้างจาน , กะละมัง , น้ำ , ลวดกำมะหยี่
ขั้นตอนการทดลอง : เติมน้ำลงในกะละมังแล้วเทน้ำยาล้างจานผสมกับน้ำ หลังจากนั้นนำลวดกำมะหยี่มาดัดให้ได้รูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม ฯลฯ นำลวดกำมะหยี่ที่ดัดแล้วไปจุ่มน้ำที่ผสมน้ำยาล้างจานแล้วเป่า
สรุปผลการทดลอง : เมื่อนำลวดกำมะหยี่ที่ดัดเป็นรูปทรงต่างๆมาจุ่มน้ำผสมน้ำยาล้างจานจะทำให้เกิดรูปสามมิติตรงกลางของรูปทรง


กิจกรรมที่ 2 : ลูกโป่งพองโต

 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : เบ็กกิ้งโซดา , ลูกโป่ง , น้ำส้มสายชู
ขั้นตอนการทดลอง : ใส่เบกกิ้งโซดาลงในลูกโป่ง แล้วนำไปครอบในขวดที่มีน้ำส้มสายชู หลังจากนั้นเทเบกกิ้งโซดาที่อยู่ในลูกโป่งลงไปในขวดที่มีน้ำส้มสายชู
สรุปผลการทดลอง : เมื่อเทเบกกิ้งโซดาลงไปในน้ำส้มสายชูจะเกิดปฏิกิริยาทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขวดทำให้ลูกโป่งพองโตขึ้น


กิจกรรมที่ 3 : แยกเกลือกับพริกไทย


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : พริกไทย , เกลือ , ช้อนพลาสติก , ลูกโป่ง , เสื้อที่เป็นขน
ขั้นตอนการทดลอง : นำพริกไทยกับเกลือผสมกัน นำช้อนพลาสติกมาถูกับเสื้อขนแล้วนำไปวางเหนือพริกไทยกับเกลือ หลังจากนำลองนำเอาลูกโป่งมาทำด้วย
สรุปผลการทดลอง : เมื่อนำช้อนกับเสื้อที่เป็นขนและลูกโป่งกับเสื้อขน มาถูกันจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต


กิจกรรมที่ 4 : ภาพซ้ำไปมา


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : กระดาษสี , ดินสอ , กรรไกร , กระดาษแข็ง
ขั้นตอนการทดลอง : วาดรูปนกใส่กระดาษเหมือนกันหลายๆอันแล้วนำมาวางเรียงต่อกัน
สรุปผลการทดลอง : การวางเรียงซ้ำกันทำให้ไม่เกิดช่องว่างและไม่ซ้อนทับกันเหมือนกับการวางกระเบื้อง


กิจกรรมที่ 2 : ระฆังดำน้ำ

 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : น้ำ , ขวดที่ตัดก้นขวดออก , แก้ว , เรือขนาดเล็กพอดีแก้ว
ขั้นตอนการทดลอง : เทน้ำลงในขวด จุ่มขวดลงไปในแก้วน้ำ เปิดฝาออก ปิดฝาขวดน้ำที่ตัดก้นแล้วให้แน่นแล้วเอาเรือที่จำลองมาจุ่มลงไปในแก้วน้ำ
สรุปผลการทดลอง : อากาศเข้ามาแทนที่ในขวด หลังจากที่เปิดฝาขวดออกอากาศได้ออกไปน้ำจึงเข้ามาแทนที่

______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ตั้งใจฟังเพื่อนๆทดลองวิทยาศาสตร์ค่ะ
Member Assessment : เพื่อนที่นำเสนอทำได้ดีค่ะอาจจะมีติดขัดบ้างแต่รวมแล้วทำได้ดี และเพื่อนๆที่ฟังก็ตั้งใจฟังค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ




วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 6
Wednesday 3th October 2018
     
      วันนี้อาจารย์ให้พวกเรามานำเสนอการทดลองที่พวกเราเขียนสรุปเมื่อครั้งที่แล้วพร้อมอาจารย์ยังให้คำแนะนำแก่นักศึกษาในการที่เราจะไปจัดกิจกรรมจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์

- การวางวัสดุอุปกรณ์วางให้เห็นชัดเจน ควรถามเด็กว่ามีวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง เป็นการทวนความรู้เดิมของเด็กและให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการทดลอง เช่น วัสดุอุปกรณ์นี้เรียกว่าอะไร / เด็กๆเคยเห็นวัสดุอุปกรณ์แบบนี้ที่ไหนบ้าง / สิ่งที่เด็กๆเห็นอยู่สามารถทำอะไรได้บ้าง / เด็กๆจะมาทดลองอะไรได้บ้าง / คิดว่าเราเอามาทำการทดลองอะไรได้บ้าง ฯลฯ
- บอกข้อระวังในการทดลองที่อันตราย ⚠️
- การที่เราจะทดลองให้ดู เราควรขยับไปในมุมที่ไม่บังเด็ก
- ในการทดลองที่ให้เด็กทั้งห้องมีส่วนร่วมเราควรมีสัญญาณให้เด็กในการผลัดกันทำ เช่น ถ้าเด็กๆได้ยินเสียงปรบมือของคุณครูต้องส่งให้เพื่อนคนต่อไป
- ก่อนจะเริ่มการทดลอง ต้องตั้งสมมติฐานให้เด็กการความอยากเรียนรู้ เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..(การทดลองของแต่ละคน)
- ให้เด็กรู้จักสังเกต
- ขั้นสุดท้ายเราควรสรุปการทดลองให้เด็กเห็น 
- อาจจะให้เด็กๆวาดภาพการทดลองที่ได้ทำกันในวันนี้ เช่น การวาดภาพก่อนการทดลองและวาดภาพหลังการทดลองว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

กิจกรรมที่ 1 : ปั๊มขวดลิปเทียน 

 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : น้ำร้อน , น้ำที่มีสี , จาน , เทียนไข
การทดลองที่ 1 : เทน้ำร้อนไปในขวดและเขย่า หลังจากนั้นเทน้ำร้อนออก อากาศที่ร้อนจะยังอยู่ในขวด หลังจากนั้น นำขวดไปวางคว่ำในจานที่ใส่น้ำไว้ อาจจะเป็นน้ำสีก็ได้เพื่อให้เห็นชัด หลังจากนั้นน้ำที่อยู่ในจานจะค่อยๆขึ้นมาอยู่ในขวดน้ำที่คว่ำ เพราะน้ำจะเข้าไปแทนที่ในขวดที่มีอุณหภูมิสูง
การทดลองที่ 2 : เทน้ำลงในจาน แล้วนำเทียนมาจุดไว้ตรงกลางจาน หลังจากนั้นนำแก้วมาวางครอบไว้ที่จุดเทียนไว้ หลังจากนั้นจะทำให้เทียนที่โดนครอบไว้ดับในที่สุด


กิจกรรมที่ 2 : เมล็ดพืชเต้นระบำ (การทดลองของนักศึกษาเอง)



 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : เมล็ดถั่วเขียน , แก้ว 2 ใบ , น้ำโซดา , น้ำเปล่า
ขั้นตอนการทดลอง : ใส่เมล็ดถั่วเขียวลงไปในแก้วใบที่ 1 และแก้วใบที่ 2 ในปริมาณที่เท่าๆกัน (ควรมีภาชนะมาตักใส่ด้วย) หลังจากนั้นเทน้ำเปล่าและน้ำโซดาลงไปในแก้วทั้ง 2 ใบ 
สรุปผลการทดลอง : แก้วที่เทน้ำเปล่าลงไปจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนแก้วที่เทน้ำโซดาลงไปภายในแก้วจะเกิดการที่เมล็ดถั่วเต้นไปเต้นมาเพราะว่า น้ำโซดามีการอัดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์มีน้ำหนักที่เบากว่าน้ำ ก๊าซนี้จึงไปอยู่ใต้เมล็ดถั่วและลอยขึ้นข้างบนทำให้มีเมล็ดถั่วลอยขึ้นตามไปด้วย


กิจกรรมที่ 3 : แรงตึงผิวของน้ำ



 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : น้ำเปล่า , เหรียญ , สลิ้ง (หลอดดูดยา) , ฝาขวดน้ำ
การทดลองที่ 1 : ให้เทน้ำเปล่าลงไปในแก้วให้เต็มหลังจากนั้นใช้สลิ้งดูดน้ำขึ้นมาใส่จนน้ำนูนขึันมา
การทดลองที่ 2 : ใช้สลิ้งดูดน้ำแล้วนำไปหยอดใส่เหรียญ
การทดลองที่ 3 : ใช้สลิ้งดูดน้ำแล้วนำไปหยอดใส่ฝาขวดน้ำ
สรุปผลการทดลอง : น้ำนั้นมีแรงตึงผิวอยู่ในการทดลองสังเกตได้ว่าน้ำจะไม่ล้นออกมา เหมือนกับการที่แมลงบางชนิดนั้นเดินบนน้ำได้


กิจกรรมที่ 4 : แสง


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : ของ 2 สิ่งที่มีขนาดเท่ากัน , ไฟฉาย
ขั้นตอนการทดลอง : นำของชนิดที่ 1 มาวางและนำไฟฉายส่อง หลังจากนั้นนำของ 2 สิ่งที่มีขนาดเท่ากันมาวางไว้ด้วยกันแต่วางห่างกันเล็กน้อยและนำไฟฉายส่อง
สรุปผลการทดลอง : การที่นำไฟฉายส่องสิ่งของจะทำให้เกิดเงา และหากนำของ 2 สิ่งนำไฟฉายมาส่องแต่การที่วางไฟฉายไว้คนละทิศทางก็อาจจะทำให้ของ 2 สิ่งที่มีขนาดเท่าแต่เงาที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน


กิจกรรมที่ 5 : กระจกเงา


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : กระจกเงา , กระดาษ
ขั้นตอนการทดลอง : วาดรูปหัวใจใส่ในกระดาษที่เตรียมไว้แต่วาดแค่เพียงครึ่งหัวใจลงไปแล้วจึงนำไปส่องกับกระจก
สรุปผลการทดลอง : เกิดการสะท้อนของกระจก


กิจกรรมที่ 6 : ไหลแรงหรือไหลอ่อน


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : ขวดน้ำที่ไม่มีน้ำ , น้ำเปล่า , ถาดรอง , ที่เจาะรู , สก็อตเทป
ขั้นตอนการทดลอง : นำขวดน้ำมาวางไว้ตรงกลางถาด แล้วเจาะรู 2 รู ข้างล่างและข้างบนแล้วนำสก็อตเทปปิดรูทั้ง 2 รูไว้ หลังจากนั้นเทน้ำให้เต็มขวด แล้วเปิดสก็อตเทปทั้ง 2 ออกพร้อมกัน สังเกตว่ารูไหนที่น้ำไหลแรงกว่ากัน
สรุปผลการทดลอง : น้ำจะไหลออกทางรูข้างล่างแรงกว่ารูที่อยู่ข้างบนเพราะว่าเมื่อเปิดสก็อตเทปออกจะทำให้อากาศเข้าไปในขวดจึงทำให้รูข้างล่างน้ำไหลแรงกว่า


กิจกรรมที่ 7 : ดินนำมันสู่ยอดปราสาท


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : ดินน้ำมัน , เส้นด้าย
ขั้นตอนการทดลอง : ปั้นดินน้ำมันให้ได้ทรงสี่เหลี่ยมหรือลูกเต๋า นำเส้นด้ายมาตัดระหว่างกลางจะทำให้เกิดรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าในดินมัน 2 ก้อนที่เราตัดแล้ว หลังจากนั้นปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้แล้วนำเส้นด้านมาตัดระหว่างกลางจะทำให้ได้รูปทรงอะไรให้เด็กสังเกต
ผลการทดลอง : ถ้าเรานำเส้นด้ายมาตัดที่ดินน้ำมันของเรานั้นก็จะทำให้เราได้รูปทรงใหม่ และยังได้ทักษะในการปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปทรงอีกด้วย


กิจกรรมที่ 8 : ทำนองตัวเลข

 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : กระดาษ , สี
ขั้นตอนการทดลอง : ตัดกระดาษให้เป็นสี่หลี่ยมจัตุรัสมีขนาดเท่ากันทุกด้าน พลิกด้านที่เรียบขึ้น พับทุกมุมให้เป็นสามเหลี่ยม ระบายสีให้ต่างกันใน 2 ด้าน
สรุปผลการทดลอง : ได้เรียนรู้เรื่องสีและตัวเลข


กิจกรรมที่ 9 : พับและตัด


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : สีน้ำ , เส้นด้าย , กระดาษ
ขั้นตอนการทดลอง : พับกระดาษให้เท่ากัน เหยาะสีลงไปในกระดาษให้เป็นจุดๆ แล้วพับ เปิดออกว่าได้รูปอะไร หลังจากนั้น เหยาะสีลงตรงกลางกระดาษที่พับแล้วนำเส้นด้ายไปวางไว้ตรงกลาง แล้วพับแล้วดึงเส้นด้ายออกเป็นมุมเฉียงออก 
สรุปผลการทดลอง : เกิดรูปร่างจากการที่ดึงเส้นด้ายออกทำให้สีกระจายไปทั่วกระดาษ


กิจกรรมที่ 10 : แสง สี และการมองเห็น


 ขั้นตอนการทดลอง
วัสดุ : กระดาษ , กระดาษสีใส 
ขั้นตอนการทดลอง : ระบายสี 3 สีลงในกระดาษ หลังจากนั้นนำกระดาษใสแต่ละสีมาทาบ เริ่มจากสีแรกจนสีสุดท้าย
ผลการทดลอง : สีบนกระดาษที่มีสีเดียวกับกระดาษสีใสเมื่อทาบแล้วจะทำให้มองไม่เห็นสีนั้น

______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร มีติดขับเล็กน้อยอยู่บ้างในการนำเสนอการทดลอง ตั้งใจฟังเพื่อนๆทุกคนค่ะ
Member Assessment : ทุกคนนำเสนอการทดลองอาจจะมีติดขัดกันอยู่บ้างแต่ทำได้ดีค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ



Learning Log 5
Wednesday 19th September 2018
     
      วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง blogger ของพวกเราว่าควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง หลังจากนั้น อาจารย์ได้แจกใบความรู้การทดลองวิทยาศาสตร์ "บ้านวิทยาศาสตร์น้อย" ให้พวกเราคนละการทดลองไม่ซ้ำกันและให้พวกเราเขียนสรุปออกมา



การทดลองเรื่อง "เมล็ดพืชเต้นระบำ" (เรื่องก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์)

     เรานำเรื่องพบเห็นในชีวิตประจำวันง่ายๆรอบตัวมาสอนวิทยาศาสตร์ "เมล็ดพืชเต้นระบำ" เมื่อเรานำผงมะนาวโซดามาละลายน้ำจะทำให้เกิดฟองอากาศ ประกอบด้วยก๊าซไดออกไซด์ ( CO2 ) เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความเบากว่าน้ำจึงลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ซึ่งในระหว่างที่ฟองลอยขึ้นสู่ผิวน้ำนั้น ฟองอากาศอาจนำวัตถุชิ้นเล็กๆในน้ำติดขึ้นมาด้วย

วัสดุอุปกรณ์
   - ขวดแยมเปล่าพร้อมฝาปิด 2 ใบ
   - บวดใสปากแคบ
   - หลอดดูด
   - ของชิ้นเล็กๆ เช่น ยางรัดผม
   - น้ำเปล่า
   - โซดา 
   - เมล็ดพืช เช่น ถั่วเขียว งา
   - แว่นขยาย

สำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติม
   - ช้อนชา
   - น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลก้อน
   - ลูกโป่งและแก้วน้ำ

การทดลอง
   - เทน้ำลงขวดแยมใบแรกประมาณ 2/3 แล้วโรยเมล็ดพืชลงไปปิดฝาทันที
   - เทน้ำลงขวดแยมใบแรกประมาณ 2/3 แล้วโรยเมล็ดพืชลงไปปิดฝาทันที
   - ตั้งขวดทั้ง 2 ไว้ใกล้กันเพื่อเปรียบเทียบ สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลง
   - สังเกตและจับเวลาว่าเมล็ดพืชเต้นขึ้นลงในน้ำโซดาได้นานเท่าไหร่และถ้าเปิดฝาออกเมล็ดพืชจะหยุดเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือไม่
   *** น้ำโซดาเกิดจากการอัด CO2 เข้าไปในน้ำ CO2 เบากว่าน้ำ จึงลอยขึ้นมาเหนือน้ำได้

สรุปการทดลอง
     น้ำโซดาีการอัด CO2 เข้าไป ดังน้ำเมื่อเปิดฝาขวด ก๊าซจะพุ่งออกจากขวดทันทีเมื่อใส่วัสดุต่างๆ เช่น เมล็ดพืชลงปในชวด วัตถุจะเคลื่อนที่ขึ้นลงทันที เมล็ดพืชจะลอยขึ้นไปตามฟองก๊าซเมื่อถึงข้างบนจะตกลงมา พอตกลงมาก็จะลอยไปตามก๊าซวนอยู่แบบนั้นจนกว่า CO2 จะหมด


     หลังจากให้เขียนสรุปการทดลองเสร็จอาจารย์ให้พวกเราคิดของเล่นที่สามารถสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ได้ โดยต้องมี "ฝาขวดน้ำ" อยู่ในของเล่นชิ้นนี้ด้วย



• วัสดุอุปกรณ์
   - ฝาขวดน้ำ
   - หลอดน้ำ
   - ลูกโป่ง

• ขั้นตอนการทำ
   - นำฝาขวดน้ำมาเจาะรูตรงกึ่งกลาง
   - ต่อมานำหลอดมาวางระหว่างกึ่งกลางแล้วนำเข็มมุดมาปัก 
   - นำลูกโป่งไปถูกับเสื้อทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์แล้วจึงนำมาวางใกล้ๆหลอด จะทำให้หลอดวิ่งออกไปจากลูกโป่ง


______________________________

Assessment⚙️
Self – Assessment of Student : ตั้งใจคิดงานประดิษฐ์ค่ะ แต่จะนำคำที่อาจารย์แนะนำไปปรับปรุงเพื่อให้ได้สิ่งประดิษฐ์ที่ดีค่ะ
Member Assessment : ทุกคนตั้งใจทำงานค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ